บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2017

ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุบลราชธานี

รูปภาพ
ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุบลราชธานี ผ้ากาบบัว  เป็นชื่อผ้าที่ถูกกล่าวถึงในวรรณกรรมโบราณอีสานหลายเรื่อง คำว่า  "กาบ"  ในภาษาอีสานมีความหมายถึง เปลือกหุ้มชั้นนอกของต้นไม้บางชนิด เช่น เปลือกหุ้มต้นกล้วย เรียก กาบกล้วย หุ้มไม้ไผ่ เรียก กาบลาง กลีบหุ้มดอกบัว เรียก  กาบบัว  (สารานุกรมภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษ : ปรีชา พิณทอง) ผ้ากาบบัวอาจจะทอด้วยไหมหรือฝ้าย โดยมีเส้นยืน (Warh) ย้อมอย่างน้อยสองสีเป็นริ้ว ตามลักษณะ  "ซิ่นทิว"  ซึ่งมีความนิยมแพร่หลายแถบอุบลฯ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เส้นพุ่ง (Weft) จะเป็นไหมสีมับไม (ไหมปั่นเกลียวหางกระรอก) มัดหมี่และขิด    จังหวัดอุบลราชธานี มีชื่อเสียงในด้านการทอผ้าพื้นเมืองมาช้านาน เห็นได้จากวรรรกรรมโบราณอีสานและประวัติศาสตร์ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดอุบลราชธานี ได้ปรากฏให้เห็นเด่นชัดถึงความประณีตสวยงาม แสดงออกถึงภูมิปัญญาของผู้ทอผ้าที่ได้รังสรรค์บรรจงด้วยจิตวิญญาณ ออกมาเป็นลวดลายอันวิจิตร สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบัน ผ้ากาบบัว ได้รับการสืบสานให้เป็นผ้าเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของจังหวัดอุบลราชธานี เป็นที่นิยมในวงกา